Thursday, June 2, 2016

วิเคราะห์แนวคิดจากหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด:เรื่อง ความหมายของเหตุการณ์ (1)

วันนี้ได้มีโอการสอ่านหนังสือที่น่าสนใจ เล่มหนึ่ง ชื่อว่า "กล้าที่จะถูกเกลียด" เขียนโดย คิชิมิ อิชิโร และ โคะกะ ฟุมิทะเกะ
ช่วงนี้ก็คงจะนำเสนอข้อคิดที่น่าสนใจของงานเขียนนี้ เรื่อยๆ แนวคิดที่จะยกขึ้นมาวิเคราะห์คือ

หนังสือเล่มนี้เขาพูดถึงว่า 
"ชีวิตของคนเราจึงไม่ได้ถูกกำหนดโดยประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ถูกกำหนดโดยความหมายที่ตัวเรามอบให้แก่ประสบการณ์ต่างหาก หมายความผลที่เราเห็นในเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ได้เป็นตัวกำหนดชีวิตเราต่อจากนั้นว่าจะเป็นอย่างไร เราต่างหากที่เป็นคนกำหนดเอง โดยขึ้นกับว่าเราจะให้ความหมายต่อเหตุการณ์นั้นอย่างไร เหมือนว่า ผลลัพธ์ไม่ว่าดีหรือเลวที่เป็นอยู่เป็นเพราะเราเป็นคนกำหนด คนเรามักปั้นแต่งสิ่งต่างๆขึ้นมาเพื่อให้บรรลุ ตามเป้าหมายนั้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความโกรธขึ้นมา การสร้างโรคบางอย่างขึ้นมา โดยที่บางครั้งเป็นเหมือนอาการทางจิต สิ่งพวกนี้เราสร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น เพื่อทำให้เราบรรลุสิ่งที่ต้องการ หรือลางครั้งก็เป็นเป้าหมายแฝงไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง" น่าคิดต่อว่า สิ่งที่เขาเล่าในหนังสือ มันจริงมั้ย ก็เลยลองไปหาสิ่งที่น่าจะยืนยัน ในอินเตอร์เน็ต เพิ่มเติมดู

1. ความหมายของพฤติกรรมคือ สิ่งที่สามารถควบคุมและจัดระเบียบได้ เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา และอารมณ์ (EMOTION) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ สติปัญญาหรือารมณ์ จะเป็นตัวตัดสินว่า ควรจะปล่อยกิริยาใดออกไป 
ถ้าสติปัญญาควบคุมการปล่อยกิริยา เราเรียกว่าเป็นการกระทำตามความคิดหรือ ทำด้วยสมอง แต่ถ้าอารมณ์ควบคุมเรียกว่า เป็นการทำตามอารมณ์ หรือปล่อยตามใจ นักจิตวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า อารมณ์มีอิทธิพลหรือพลังมากกว่าสติปัญญา ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้พฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นไปตามความรู้สึกและอารมณ์เป็นพื้นฐาน
รูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 2 อย่างคือ
1. พฤติกรรมเปิดเผยหรือพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกมา ทำให้ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้ สังเกตได้ เช่น การเดิน การหัวเราะ การพูด ฯลฯ 
2. พฤติกรรมปกปิดหรือพฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงแล้ว แต่ผู้อื่นไม่สามารถมองเห็นได้ สังเกตได้โดยตรงจนกว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้บอกหรือแสดงบางอย่างเพื่อให้คนอื่นรับรู้ได้ เช่น ความคิด อารมณ์ การรับรู้

2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะคือ
1. การปรับเปลี่ยนทางด้านของสรีระร่างกาย เช่น การปรับปรุงบุคลิกภาพ การแต่งกาย การพูด
2. การปรับเปลี่ยนทางด้านอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ให้มีความสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ปรับอารมณ์ความรู้สึก ให้สอดคล้องกับบุคคอื่น รู้จักการยอมรับผิด
3. การปรับเปลี่ยนทางด้านสติปัญญา เช่น การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้มีความรู้ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ การมีความคิดเห็นคล้อยตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่
4. การปรับเปลี่ยนอุดมคติ หมายถึง การสามารถปรับเปลี่ยนหลักการ แนวทางบางส่วนบางตอนเพื่อให้เข้ากับสังคมส่วนใหญ่ได้ โดยพิจารณาจากความจำเป็น และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เพื่อสวัสดิภาพของตนเองและของกลุ่ม
การศึกษาเกี่ยวกับการเกิดของพฤติกรรมมนุษย์

3.หนึ่งในสาเหตุการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์ มีอยู่หลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งที่น่าสนใจและตรงกับบทความนี้คือ

1. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากแรงผลักดันภายในตัวมนุษย์
แรงผลักดันที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาก็คือ ความต้องการ ซึ่งความต้องการนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความต้องการทางร่างกาย และความต้องการทางจิตใจ 
1.1 ความต้องการทางด้านร่างกาย เป็นแรงผลักดันที่อยู่ในระดับพื้นฐานที่สุด แต่มีพลังอำนาจสูงสุด เพราะเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ชีวิตอยู่รอด มนุษย์จะต่อสู้ดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะมาบำบัดความต้องการทางร่างกาย ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นทั้งทางที่ดีที่ถูกต้องหรือทางที่ไม่ถูกต้องก็ได้
ความต้องการทางร่างกายที่จะทำให้ชีวิตอยู่รอด ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ อุณหภูมิที่พอเหมาะ การพักผ่อน การขับถ่าย การสืบพันธุ์ ความปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
การตอบสนองความต้องการทางร่างกาย อันทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมออกมานั้น สามารถกระทำได้ 2 ระดับ คือ
1.1.1 กิริยาสะท้อน เป็นการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นไปได้โดยธรรมชาติ เช่น เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ร่างกายก็จะขับเหงื่อออกมาเป็นการลดอุณหภูมิให้อยู่ในระดับพอเหมาะ
1.1.2 พฤติกรรมเจตนา เป็นการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าโดยความตั้งใจหรือความพอใจของตนเอง เช่น เมื่อรู้สึกตัวว่าร้อนก็จะไปอาบน้ำ หรือเปิดพัดลม เป็นต้น

1.2 ความต้องการทางจิตใจ เป็นแรงผลักดันที่อยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าความต้องการทางร่างกาย แต่มีพลังอำนาจน้อยกว่า เพราะความต้องการทางจิตใจนี้ ไม่ใช่ความต้องการที่เป็นความตายของชีวิต จะเป็นความต้องการที่มาช่วยสร้างเสริมให้ชีวิตมีความสุขความสบายยิ่งขึ้นเท่านั้น
-----------------------------------------------------

4.มีนักจิตวิทยาหลายคนได้อธิบายถึงแรงผลักดันภายในร่างกาย อันมีผลทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

1. ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย ได้วิเคราะห์จิตมนุษย์ออกเป็นองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซุปเปอร์อีโก้ (Super Ego) ส่วนทั้งสามนี้ประกอบเป็นโครงสร้างทางจิต (ศรีราชา เจริญพานิช, 2526 : 13)

บอกว่า อีโก้ พัฒนาพฤติกรรมป้องกันที่เรียกว่า “กลไกป้องกัน” ซึ่งเป็นไปโดยไม่รู้สึกตัว ตัวอย่างพฤติกรรมป้องกัน ได้แก่

1. การเก็บกด (Repression) 
2. การถอดแบบ (Identification) 
3. การยึดแน่น (Fixation) 
4. การแสดงพฤติกรรมตรงข้าม (Reaction Formation) 
5. การตำหนิผู้อื่น (Projection) 
6. การถดถอย (Regression) 
7. พฤติกรรมเบี่ยงเบน (Sublination) 
8. การทดแทน (Displacement) 
--------------------------------------------------
2. อับราฮัม มาสโลว์ (Abrahum Maslow) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้ มีความเชื่อว่า มนุษย์มิใช่ทาสของแรงผลักดันต่างๆ เช่น ความหิวกระหายเท่านั้น แต่มนุษย์ยังเกิดมาพร้อมศักยภาพของความเป็นมนุษย์ต่างๆ เช่น ความอยากรู้ ความสร้างสรรค์ และความต้องการที่จะพัฒนาตนเองจนเต็มขีดความสามารถ มาสโลว์ได้เน้นให้เห็นถึงความต้องการให้แต่ละคน ในการพัฒนาศักยภาพของตนให้เป็นจริงขึ้นมามากเป็นพิเศษ เป็นต้น


สรุปทั้งหมดคือ 
เป็นไปได้ ที่ "ชีวิตของคนเราถูกกำหนดเองโดยความหมายที่ตัวเราเองมอบให้แก่ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา"   ดังนั้นเหมือนคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือคนที่บอกว่า เปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้นั้น ไม่ได้หมายความว่า เขาเปลี่ยนตัวเองไม่ได้ แต่เป็นเพราะเขาสร้างเงื่อนไขที่จะไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองต่างหาก ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเรา เริ่มที่ความกล้า ที่จะทำและสร้างเป้าหมายและความหมายในสิ่งที่เราทำในอีกรูปแบบหนึ่ง ให้แตกต่างจากเดิม


อันชีวิตมนุษย์สุดวิเศษ โทษอาเภพฤกษ์ร้ายที่บ่ายหนี 
ก็อ้างอิงชีวิตชั่วเพราะเหตุนี้ โทษเจ้าที่เจ้าทางไปตามกัน 
ทำไมเล่าไม่เคยโทษมองตัวเอง ว่าเรานี่แหล่ะรำเองไม่สร้างสรรค์ 
โทษปี่โทษกลองทำไมกัน ทำไมท่านไม่ถือโทษโกรธตัวเอง 
เกิดเป็นมนุษย์ช่างแสนสุดล้ำ มองโลกต่างมุมต่างแบบไม่แนบกัน 
ช่างมืดดำมัวหมองและตรอมตรม โทษชาวบ้านที่มองต่าง "พวกโลกสวย"
 ชอบพูดอวยมองโลกผิดไม่เหมือนฉัน โลกทั้งใบโหดร้ายเหมือนๆกัน  
ฉันนี่หล่ะมองเห็นเต็มๆตา แต่ความจริงอนิจาเธออวดรู้ 
ถือว่าพลาดอยู่ดูความงามที่สร้างสรรค์  โลกทั้งใบใช่ว่ามองต้องกัน
ในทุกข์นั้นมีสุขอยู่ทุกที่ แล้วแต่ว่าใจจะมองเห็นโลกนี้ 
จะชั่วดีมีสุขอยู่หนไหน ฝนจะตกไม่ทั่วฟ้าช่างปะไร อยู่ที่ใจคุณเองที่รู้ดี


โดย ทรงรัตน์ บานเย็น 




ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย และ www.novabizz.com


ขอบคุณที่อ่าน
สวัสดีค่ะ

Tuesday, May 31, 2016

7 อย่างที่อัจฉริยะทุกคนมักทำเหมือนกัน

“เหล่าอัจฉริยะของโลก” มีกิจวัตรประจำวันยังไง?
ในบรรดาผู้ที่มีชื่อเสียง ทั้งนักคิดนักเขียน นักดนตรี และอีกหลากหลายสาขาที่ได้รับยกย่องว่าเป็น “อัจฉริยบุคคล” สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเขาเหล่านี้อาจเป็นเรื่องของ “กิจวัตรประจำวัน” ที่เขาทำกันครับ
ผมเชื่อว่ามีหลายท่านที่สนใจอยากทราบว่า ใน 24 ชั่วโมงที่ทุกคนมีเท่ากันนั้น คนที่ได้ชื่อว่าอัจฉริยะ ใช้เวลากันอย่างไร และมีการตั้งกรอบการทำงานให้กับตัวเองกันอย่างไร
ขอยกตัวอย่างบางท่าน เช่น Francine Prose นักเขียนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีผลงาน ตลอดจนได้รับรางวัลมากมาย หนังสือ Daily Rituals: How Artists Work ของMason Curry กล่าวถึง Francine Prose เอาไว้ว่า ในช่วงที่ลูกยังเล็ก เธอจะเริ่มเขียนงานเมื่อรถโรงเรียนมารับลูก ๆ ของเธอไปจนกระทั่งรถโรงเรียนพาลูกมาส่งในตอนบ่าย
หรือ Thomas Stearns Eliot (T.S.Eliot) อีกหนึ่งคนดังในแวดวงนักเขียน เจ้าของรางวัลโนเบลด้านการประพันธ์ ในปี ค.ศ. 1948 ที่ได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่า การเขียนงานในวันที่เขามีงานธนาคารทำนั้น ง่ายกว่าสมัยที่เป็นนักเขียนไส้แห้ง
แม้รูปแบบการทำงานจะไม่มีสูตรตายตัว แต่ละคนอาจเลือกใช้ตามความถนัด
แต่ในมุมของ Sarah Green บรรณาธิการอาวุโสแห่งนิตยสาร Harvard Business Review กลับพบว่ามีองค์ประกอบบางอย่างคล้าย ๆ กันในกิจวัตรประจำวันของคนดังเหล่านั้นครับ และได้สรุปออกมา 7 ข้อดังนี้
1. ต้องการสถานที่ทำงานที่สงบเงียบ
อัจฉริยะส่วนใหญ่ มีวิธีจัดการกับสิ่งรบกวนได้น่าสนใจ ดังเช่น Francine Prose ที่ต้องส่งลูกไปโรงเรียนก่อน เธอจึงจะเริ่มทำงานได้
ขณะที่ประตูห้องของ Jane Austen (นักประพันธ์นิยายรักชื่อดังชาวอังกฤษ) เป็นบานพับที่ไม่ได้หยอดน้ำมัน ดังนั้นมันจะส่งเสียงแหลมรบกวนทุกครั้งหากมีใครเปิดเข้ามา และคนเหล่านั้นมักจะโดนเธอดุ หากเข้ามาในช่วงเวลาที่เธอกำลังเขียนงานอยู่
หรือ William Faulkner ที่ถอดลูกบิดประตูออก แล้วนำมันเข้าห้องไปกับเขาด้วย (William Faulkner เป็นนักประพันธ์คนสำคัญของสหรัฐอเมริกา ชาวมิสซิสซิปปี ผลงานของเขาได้รับรางวัลโนเบลด้านการประพันธ์ในปี ค.ศ. 1949 )
ครอบครัวของ Mark Twain ที่ไม่ใช้วิธีเคาะประตูห้อง แต่จะเป่าแตรให้ดัง ๆ แทน หากต้องการจะเรียกเขาออกมาจากห้องทำงาน ด้าน Graham Greene (นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20) เขาถึงกับไปเช่าห้องทำงานพิเศษ ที่จะมีเพียงภรรยาเท่านั้นที่รู้ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
(Mark Twain เป็นชื่อนามปากกาของ Samuel Langhorne Clemens นักเขียนชาวอเมริกันผู้โด่งดัง และ William Faulkner ได้ยกให้เขาเป็นบิดาด้านการประพันธ์ของสหรัฐอเมริกาด้วย)
2. เพิ่มแรงบันดาลใจให้ตัวเองจากการเดิน
การเดินเป็นประจำทุกวันมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของสมอง Soren Kierkegaard (นักปรัชญาชาวเดนนิช) มักพบสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขาจากการเดินเป็นประจำนี้ โดยเขามักรีบวิ่งกลับไปที่โต๊ะทำงานและเริ่มเขียนงาน ทั้งที่ยังสวมหมวก ถือไม้เท้าและร่มอยู่เสมอ หรือจะเป็น Charles Dickens นักเขียนชาวอังกฤษที่มักใช้เวลาช่วงบ่ายเดินเล่นประมาณ 3 ชั่วโมง และนำสิ่งที่เขาสังเกตเห็นระหว่างทางใส่ลงไปในงานเขียนด้วย
เช่นเดียวกับ Beethoven มีเส้นทางยาว ๆ ให้เดินหลังจากรับประทานอาหารกลางวัน แต่ Beethoven จะนำกระดาษและดินสอไปด้วย เพื่อจะได้บันทึกไว้ในกรณีที่เกิดแรงบันดาลใจขึ้นมา
ด้าน Erik Satie นักแต่งเพลงสัญชาติฝรั่งเศส ก็ทำเช่นเดียวกัน แต่เขาเดินจากปารีสกลับไปยังที่ทำงานย่านชานเมือง และมักจะหยุดพักตามเสาไฟ เพื่อจดบันทึกสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง มีเรื่องเล่าด้วยว่าในช่วงสงครามโลก เสาไฟเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้ คุณภาพงานของ Erik ก็ลดลงไปด้วย
3. กำหนดปริมาณงานที่ชัดเจน
หลายคนอาจคิดว่า มีเวลาเท่าไร ทุ่มลงไปกับงานเท่านั้น แต่กับบรรดาอัจฉริยะแล้ว อาจไม่ใช่ครับ
Anthony Trollope นักประพันธ์ชาวอังกฤษผู้เขียนหนังสือแค่ 3 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น แต่เขาตีกรอบกับตัวเองไว้ว่า เขาจะต้องเขียนให้ได้ในระดับ 250 คำต่อ 15 นาที
และเมื่อเขาเขียนงานจบก่อนเวลา 3 ชั่วโมง เขาจะเริ่มงานเขียนชิ้นใหม่เลยทันที
Burrhus Frederic (B. F.) Skinner (นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน) ซึ่งใช้การตั้งเวลา โดยเขาจะบันทึกจำนวนชั่วโมงที่เขาใช้ และจำนวนคำที่เขาเขียนได้ไว้เป็นกราฟด้วย
4. มีความชัดเจนระหว่างงานสำคัญ กับงานเร่งด่วน
ปกติแล้ว หลังจากตื่นนอนคนเราอาจเช็คอีเมลก่อน และตอบอีเมลงานที่เร่งด่วนเป็นลำดับแรก ๆ จากนั้นเมื่อหมดเมล จึงจะเริ่มงานของตนเอง น่าแปลกที่อัจฉริยะหลายคนแบ่งเวลาทำงานกลับกัน เช่น งานแต่งเพลง งานวาดภาพ งานเขียนหนังสือ พวกเขากลับทำในตอนเช้า ส่วนงานเช่น ตอบจดหมาย จะหยิบมาทำในตอนบ่ายแทน
5. หยุดเมื่อต้องการหยุด ไม่ใช่หยุดเพราะติดปัญหา
นักเขียนชื่อดังหลายคนจะหยุดทำงานเมื่อตนเองต้องการ หรือเมื่อเป็นไปตามกรอบที่ตั้งไว้ รวมถึงมีความสุขกับสิ่งที่เข้ามาในช่วงเวลาต่อไป
หลายคนอาจเขียนงานในตอนเช้า พักกลางวันเพื่อรับประทานอาหาร และเดินเล่น ใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมงตอบจดหมาย และเลิกงานตอน บ่ายสองหรือบ่ายสาม
โดยอัจฉริยะทางดนตรีอย่าง Mozart เคยกล่าวเอาไว้ว่า “ใครที่รู้สึกเหนื่อยจากการทำงานและต้องการพัก แต่ก็ยังทนทำงานต่อไปเหมือนเดิม คนนั้นคือคนโง่“
6. ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากคนรอบข้าง
ข้อนี้สำคัญมาก หากคนรอบข้างไม่เข้าใจ ไม่สนับสนุน ก็ยากนักที่ความเป็นอัจฉริยะของคนเหล่านี้จะแสดงออกมา
ยกตัวอย่างผู้ให้การสนับสนุนเช่น Martha Freud ภรรยาของ Sigmund Freud เป็นคนเตรียมเสื้อผ้า เลือกผ้าเช็ดปาก ทายาสีฟันบนแปรงสีฟันให้สามี
หรือ ภรรยาของ Gustav Mahler ที่ไปบอกเพื่อนบ้านว่า หากช่วยให้สุนัขเงียบเสียงลงได้ ไม่รบกวนการแต่งเพลงของสามี เธอจะให้บัตรโอเปรากับพวกเขา
หรือน้องสาวของ Jane Austen ที่ชื่อ Cassandra ที่ช่วยทำงานบ้านทั้งหมด เพื่อที่ Jane จะได้มีเวลาเขียนให้เต็มที่ เป็นต้น
7. ไม่เน้นเข้าสังคม
น่าแปลกที่พบว่าคนเหล่านี้มีชีวิตที่สันโดษ และเรียบง่าย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความเรียบง่ายนั้นช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานที่ตนถนัดได้ดี
ยกตัวอย่างเช่น Marcel Proust ตัดสินใจไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานสังคมอีกเลยตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1910 หรือ Pablo Picasso และเพื่อนสาว ก็ใช้วิธีกำหนดวันอาทิตย์เป็นเวลาส่วนตัวในชื่อ “at-home day” หรือ Stein and Toklas ที่ไม่รับนัดเพื่อนฝูงในยามบ่าย เหล่านี้เป็นต้น
แต่ทั้งหมดนี้ไม่ว่ากิจวัตรในแต่ละวันจะเป็นอย่างไร
สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนที่มีเป้าหมายในชีวิตอาจเป็นการที่เรายังมุ่งเดินหน้า “ทำ” ในสิ่งที่เราตั้งใจไว้ให้เป็นจริง 

ขอบคุณ 
Worawisut Page ด้วยค่ะ สำหรับเนื้อหาดีๆ

Monday, May 30, 2016

INTJS ผู้มีชื่อเสียง:ISAAC NEWTON (PHYSICIST)






INTJS ผู้มีชื่อเสียง:ISAAC NEWTON (PHYSICIST)


 วันนี้ เกิดมีความรู้สึกสงสัยขึ้นมาในหลายๆด้านและอยากรู้ว่า บุคคลิกภาพแบบเรานั้น มีคนที่มีชื่อเสียง อยู่เยอะมั้ย และ แต่ละคน เขามีแนวคิดในการดำเนินชีวิตยังไงกันบ้าง เริ่มที่คนแรกเลย
INTJs ผู้มีเชื่อเสียง:Isaac Newton (Physicist)
นิวตั้น เด็กหลายคนคงรู้จักนิวตั้นเป็นอย่างดี และก็ได้รู้มาว่า เขาเป็นคนบุคคลิคภาพ แบบ INTJ เหมือนกัน ด้านล่างนี้เป็นคำพูดที่แสดงความเป็น INTJ ของนิวตั้น
Newton: “I can calculate the motion of heavenly bodies, but not the madness of people.”
[Addressing a critic:]
Newton: “I have studied these things – you have not.”
[Speaking about his work on mechanics:]
Newton: “Mechanics [has been] distinguished from geometry, as what is perfectly accurate from what is less so. But the errors are not in the art, but in the artificers.”
John Maynard Keynes: “Newton was not the first of the age of reason. He was the last of the magicians.”
a89ae21a40313e87923d05fea0b1376c
ลองอ่านประวัติโดยย่อของเขาดู เผื่อหลายๆคนลืมไปแล้ว
วัยเด็ก
ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2186 (หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185 ตามปฏิทินเก่า)1 ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งในลินคอล์นเชียร์ ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับปฏิทินเกรกอเรียน ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 2185 บิดาของนิวตัน (ชื่อเดียวกัน) ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: “ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ” นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน
นับแต่อายุ 12 จนถึง 17 นิวตันเข้าเรียนที่คิงส์สกูล แกรนแธม (มีลายเซ็นที่เชื่อว่าเป็นของเขาปรากฏอยู่บนหน้าต่างห้องสมุดโรงเรียนจนถึงทุกวันนี้) ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2202 เขากลับไปบ้านเกิดเมื่อมารดาที่เป็นหม้ายครั้งที่ 2 พยายามบังคับให้เขาเป็นชาวนา แต่เขาเกลียดการทำนา ครูใหญ่ที่คิงส์สกูล เฮนรี สโตกส์ พยายามโน้มน้าวให้มารดาของเขายอมส่งเขากลับมาเรียนให้จบ จากแรงผลักดันในการแก้แค้นครั้งนี้ นิวตันจึงเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงที่สุด
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2204 นิวตันได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยทรินิตี้ เคมบริดจ์ ในฐานะซิซาร์ (sizar; คือทุนชนิดหนึ่งซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพื่อแลกกับที่พัก อาหาร และค่าธรรมเนียม) ในยุคนั้นการเรียนการสอนในวิทยาลัยตั้งอยู่บนพื้นบนแนวคิดของอริสโตเติล แต่นิวตันชอบศึกษาแนวคิดของนักปรัชญายุคใหม่คนอื่นๆ ที่ทันสมัยกว่า เช่น เดส์การ์ตส์ และนักดาราศาสตร์ เช่น โคเปอร์นิคัส, กาลิเลโอ และเคปเลอร์ เป็นต้น ปี ค.ศ. 1665 เขาค้นพบทฤษฎีบททวินามและเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็นแคลคูลัสกณิกนันต์ นิวตันได้รับปริญญาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นาน มหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจากเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ แม้เมื่อศึกษาในเคมบริดจ์เขาจะไม่มีอะไรโดดเด่น แต่การศึกษาด้วยตนเองที่บ้านในวูลส์ธอร์พตลอดช่วง 2 ปีต่อมาได้สร้างพัฒนาการแก่ทฤษฎีเกี่ยวกับแคลคูลัส ธรรมชาติของแสงสว่าง และกฎแรงโน้มถ่วงของเขาอย่างมาก นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้วปริซึมและสรุปว่ารังสีต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้เลนส์แก้วไม่ชัดเจน ก็เนื่องมาจากมุมในการหักเหของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์แตกต่างกัน ทำให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้กลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้อนแสงที่สมบูรณ์โดยวิลเลียม เฮอร์เชล และ เอิร์ลแห่งโรส ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการโคจรของดาวเคราะห์
พ.ศ. 2210 เขากลับไปเคมบริดจ์อีกครั้งหนึ่งในฐานะภาคีสมาชิกของทรินิตี้ ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่ว่าผู้เป็นภาคีสมาชิกต้องอุทิศตนถือบวช อันเป็นสิ่งที่นิวตันพยายามหลีกเลี่ยงเนื่องจากมุมมองของเขาที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนา โชคดีที่ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าภาคีสมาชิกต้องบวชเมื่อไร จึงอาจเลื่อนไปตลอดกาลก็ได้ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อนิวตันได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเมธีลูเคเชียนอันทรงเกียรติ ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงการบวชไปได้อีก ถึงกระนั้นนิวตันก็ยังหาทางหลบหลีกได้โดยอาศัยพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2

ชีวิตการงาน
Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica งานตีพิมพ์สำคัญชิ้นแรกของนิวตัน
การหล่นของผลแอปเปิลทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง “หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (Philosophiae naturalist principia mathematica หรือ The Mathematical Principles of Natural Philosophy) ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากล และเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย
งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์วัตถุที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา
ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจากพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ต่อมาปี พ.ศ. 2239 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี พ.ศ. 2242 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี พ.ศ. 2244 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2247 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ Optics ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่าถึงแก่กรรมไปแล้ว

ชีวิตครอบครัว
นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเขาเคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้ใด[ต้องการอ้างอิง] แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเขาถึงแก่กรรมไปโดยที่ยังบริสุทธิ์ ดังที่บุคคลสำคัญหลายคนกล่าวถึง เช่นนักคณิตศาสตร์ ชาลส์ ฮัตตัน นักเศรษฐศาสตร์ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ และนักฟิสิกส์ คาร์ล เซแกน
วอลแตร์ นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสซึ่งพำนักในลอนดอนในช่วงเวลาที่ฝังศพของนิวตัน อ้างว่าเขาได้ค้นพบข้อเท็จจริงนี้ เขาเขียนไว้ว่า “ผมได้รับการยืนยันจากหมอและศัลยแพทย์ที่อยู๋กับเขาตอนที่เขาตาย” (เรื่องที่อ้างกล่าวว่า ขณะที่เขานอนบนเตียงและกำลังจะตาย ก็สารภาพออกมาว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่[) ในปี 1733 วอลแตร์ระบุโดยเปิดเผยว่านิวตัน “ไม่มีทั้งความหลงใหลหรือความอ่อนแอ เขาไม่เคยเข้าใกล้หญิงใดเลย”
นิวตันมีมิตรภาพอันสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส Nicolas Fatio de Duillier ซึ่งเขาพบในลอนดอนราวปี 1690 แต่มิตรภาพนี้กลับสิ้นสุดลงเสียเฉยๆ ในปี 1693 จดหมายติดต่อระหว่างคนทั้งคู่บางส่วนยังคงเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน
บั้นปลายของชีวิต
ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, ไลบ์นิซ และเฟลมสตีด ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจินตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกราชสมาคมแห่งลอนดอนที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”
เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่ากษัตริย์ ศพของเขาฝังอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
เซอร์ไอแซก นิวตันมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
Bj1_NTSCIAEhlQ9
“It is only a man’s own thoughts that he really and completely understands. To read the thoughts of others is like taking the remains of someone else’s meal, like putting on the discarded clothes of a stranger.”
ขอบคุณที่อ่าน



INTJS ผู้มีชื่อเสียง:MARK ZUCKERBERG(CEO OF FACEBOOK)



INTJS ผู้มีชื่อเสียง:MARK ZUCKERBERG(CEO OF FACEBOOK)


ขอบคุณสำหรับผลตอบรับที่ดีจากโพสที่แล้ว (INTJs ผู้มีชื่อเสียง:Isaac Newton (Physicist)) วันนี้เรามาพูดถึง INTJ อีกคนหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน กับสไตล์การแต่งตัวที่เรียบง่าย ซึ่งแป้งเชื่อว่า INTJ หลายๆคนก็มีสไตล์การแต่งตัวที่เป็นในแบบของตัวเองเหมือนกัน อย่างดิชั้นเองก็ใส่เสื้อผ้า ไม่กี่แบบ เพราะไม่อยากเสียเวลาเลือกเสื้อผ้านั่นเอง คนที่จะพูดถึงวันนี้คือ พี่มาร์ค แห่ง เฟสบุ๊คนี่เอง ไปอ่านกัน เรื่องราวของเขาจะประมาณไหน และตรงไหน ที่เราเห็นเขาเป็น INTJ จะตรงกับเรามั้ย และมีอะไรที่เราจะไปปรับใช้กับตัวเองได้บ้าง
INTJs ผู้มีชื่อเสียง:Mark Zuckerberg(CEO of Facebook)
Mark-Zuckerberg-Inspirational-Quote-680x510
Zuckerberg: “[I’m] going to change the world.”
Zuckerberg: “I think that the next five years are going to be characterized by widespread acknowledgement by [others] … that [my way] is the way that stuff should be and will be better.”
[Asked about users who are dissatisfied with Facebook’s privacy options:]
Zuckerberg: “Having two identities for yourself [is] a lack of integrity.”
Sheryl Sandberg: “He is shy and introverted and he often does not seem very warm to people who don’t know him.”
[On his first impression of Zuckerberg:]
Sean Parker: “He had imperial tendencies.”
Peter Thiel: “Yahoo tried to buy Facebook for $1 billion. … Many people thought Mark was crazy for not selling. But he always had a plan and a vision.”

ช่วงแรกของการก่อตั้ง facebook
ซักเคอร์เบิร์ก ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนซอฟต์แวร์ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กในชั้นประถมปลาย พ่อเขาสอนให้ใช้โปรแกรมพื้นฐานของอาตาริในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 และต่อมายังจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ชื่อ เดวิด นิวแมน มาสอนเป็นการส่วนตัว นิวแมนเรียกเขาว่า “เด็กอัจฉริยะ” และกล่าวต่อว่า “ยากที่จะล้ำหน้าเกินเขา” ซักเกอร์เบิร์กยังเรียนคอร์สที่วิทยาลัยเมอร์ซี ใกล้กับบ้านของเขาขณะที่เรียนระดับไฮสคูลอยู่[2] เขามีความสนุกกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือด้านการสื่อสารและเกม ตัวอย่างเช่น มีโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งพ่อของเขาที่เป็นทันตแพทย์ เขาสร้างโปรแกรมที่ชื่อ “ซักเน็ต” ที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารได้ระหว่างบ้านกับสำนักงานทันตแพทย์ โดยใช้ระบบปิงหากัน ถือว่าเป็นเมสเซนเจอร์รุ่นดึกดำบรรพ์ของเอโอแอล ซึ่งออกมาภายหลัง
ในช่วงระหว่างเรียนไฮสคูล ภายใต้การทำงานกับบริษัท อินเทลลิเจนต์มีเดียกรุ๊ป เขาได้สร้างโปรแกรมเล่นดนตรีที่เรียกว่า ไซแนปส์มีเดียเพลเยอร์ (Synapse Media Player) ใช้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้พฤติกรรมการฟังเพลงของผู้ใช้ โดยได้โพสต์ลงที่ สแลชด็อต ได้รับคะแนน 3 เต็ม 5 จาก พีซีแม็กกาซีน ไมโครซอฟท์และเอโอแอลพยายามจะซื้อไซแนมป์และรับซักเคอร์เบิร์กเข้าทำงาน แต่เขาเลือกที่จะสมัครเรียนที่ฮาวาร์ดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002
ฮาวาร์ด
ในช่วงที่เขาเรียนอยู่ที่ฮาวาร์ด เขามีกิตติศัพท์ด้านความอัจฉริยะในการเขียนโปรแกรมแล้ว เขาศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และจิตวิทยา และเป็นสมาชิก อัลฟาเอปซิลอนไพ สมาคมยิวในมหาวิทยาลัย พอเรียนชั้นปีที่ 2 เขาสร้างโปรแกรมจากห้องพักของเขาที่ชื่อ “คอร์สแมตช์” ที่ให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเรื่องการเลือกเรียนวิชา จากการตัดสินใจของนักเรียนคนอื่น และยังช่วยให้พวกเขาร่วมก่อกลุ่มการเรียน ต่อจากนั้นไม่นาน เขาสร้างโปรแกรมที่แตกต่างกันออกไป เรียกว่า “เฟซแมช” ที่ให้ผู้ใช้เลือกหน้าผู้ใช้ที่หน้าตาดีที่สุดในบรรดารูปที่ให้มา เพื่อนร่วมห้องของเขาเวลานั้นที่ชื่อ อารี ฮาซิต กล่าวว่า “เขาสร้างเว็บไซต์นี้เพื่อความสนุก”
“เรามีหนังสือ ที่เรียกว่า เฟซบุ๊กส์ ที่รวบรวมรายชื่อและภาพของทุกคนที่อยู่ในหอพัก ในตอนแรกเขาสร้างเว็บไซต์ที่ วางรูป 2 รูป หรือรูปของผู้ชาย 2 คน และผู้หญิง 2 คน ผู้เยี่ยมเยือนเว็บไซต์จะเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน และรวบรวมจัดอันดับเป็นผลโหวต”
เว็บไซต์เปิดในช่วงวันหยุด แต่พอถึงเช้าวันจันทร์ เว็บไซต์ก็ถูกปิดโดยมหาวิทยาลัย เว็บไซต์ได้รับความนิยมในช่วงเวลาอันสั้น จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ของฮาวาร์ดล่ม นักศึกษาจะถูกห้ามใช้เข้าเว็บไซต์ นอกจากนั้นมีนักศึกษาหลายคนร้องเรียนเรื่องภาพที่ใช้ไม่ได้รับอนุญาต เขาออกขอโทษต่อสาธารณะ หนังสือพิมพ์นักเรียนจะพาดหัวเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเขาว่า “ไม่เหมาะสม”
อย่างไรก็ตาม นักเรียนก็ได้เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล รายชื่อ รวมถึงรูป ในส่วนหนึ่งของเครือข่ายมหาวิทยาลัย ฮาซิตเพื่อนร่วมห้องเขากล่าวว่า “มาร์กได้ยินคำร้องเหล่านี้และตัดสินใจว่า ถ้ามหาวิทยาลัยจะไม่ทำอะไรเลยก็ตาม เขาก็จะสร้างเว็บไซต์ที่ดีกว่าที่มหาวิทยาลัยจะทำ”

อะไรทำให้เราคิดว่า Mark Zuckerberg เป็น INTJ?
ยกตัวอย่าง คร่าวๆ มาซัก 4 อย่าง
1.บ่อยครั้งเขาจะอธิบายเรื่องงานแบบ “introvert:
2.จะย้ายจาก project หนึ่งไปอีกproject หนึ่งบ่อยๆ
3.ไม่ได้กังวลผลทางธุรกิจมากไปกว่า จุดประสงค์และความสำคัญในสิ่งที่เขาสร้าง
4.บ่อยครั้งจะทำตัวเงียบ เมื่ออยู่ล้อมด้วยคนแปลกหน้า แต่จะพูดคุยเฉพาะกับคนที่น่าสนใจ หรือกับเรื่องที่น่าสนใจ ที่จะจุดประกายไอเดียให้กับเขา
เป็นต้น
ขอบคุณที่อ่าน และอยากจะบอกว่า
student-reading-illustration_23-2147529876

INTJS ผู้มีชื่อเสียง: NIKOLA TESLA (INVENTOR)

หลังจากที่ได้อ่านเนื้อหาจาก 2 เนื้อหาก่อนหน้า กันไปแล้ว
คราวนี้มาดูเนื้อหาของ INTJ อีกคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงระดับโลกเช่นกัน นั้นคือ นิโคลา เทสล่า นักประดิษฐ์อัจฉริยะของเรานี่เอง
Nikola Tesla
Inventor
Tesla: “My ideas have revolutionized the industries of the United States.”
Tesla: “The … development of man [has as its] ultimate purpose the complete mastery of mind over the material world.”
Tesla: “The world was not prepared for [my work]. It was too far ahead of time, but … in the end [it will be] a triumphal success.”
Tesla: “If Edison had a needle to find in a haystack, he would proceed at once with … diligence … to examine straw after straw. … I was a sorry witness of such doings, knowing that a little theory and calculation would have saved him 90% of his labor.”
John Stone: “[Everyone] misunderstood Tesla. … He did dream [but he made] his dreams come true. [He had] visions but they were of a real future, not an imaginary one. … [We must] admit [he] was a prophet.”


การส่งพลังงานแบบไร้สายด้วยต้นทุนต่ำเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อมนุษย์ เพราะมันจะทำให้เขาเป็นนายเหนือท้องฟ้ามหาสมุทร และทะเลทราย ทำให้เขาสามารถขจัดความจำเป็นในการขุดเจาะ สูบ ขนส่ง และเผาผลาญเชื้อเพลิง และดังนั้นจึงกำจัดแหล่งที่มาไม่รู้จบของความสิ้นเปลืองอันชั่วร้าย
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla, ๑๘๕๖-๑๙๔๓)
…………………
ในบรรดาสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมดที่จำเป็นต่อวิถีชีวิตอันสะดวกสบายของคนสมัยนี้ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีมากกว่าธรรมชาติแทบทุกคนคงนึกถึงหลอดไฟฟ้าและระบบจ่ายไฟฟ้าของ โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) อัจฉริยะผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์มากมายจนได้รับสมญา “พ่อมดแห่งเมนโลปาร์ก”
เอดิสันมิใช่นักประดิษฐ์ยุคปลายศตวรรษที่ ๑๙ “รุ่งอรุณแห่งเทคโนโลยีสมัยใหม่” เพียงคนเดียวที่เราสำนึกบุญคุณจวบจนปัจจุบัน ผู้ยิ่งใหญ่ร่วมรุ่นหลายคนเป็นตำนานที่คนทั่วไปจำขึ้นใจตั้งแต่สมัยเรียน อาทิ กูกลีเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) นักประดิษฐ์รางวัลโนเบลผู้ได้รับการขนานนามว่า “บิดาแห่งวิทยุ” เจ.พี. มอร์แกน (J.P. Morgan) นายธนาคารผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ หรือ จอร์จ เวสติงเฮาส์ (George Westinghouse) ผู้คิดค้นเบรกรถไฟและเผยแพร่ระบบจ่ายไฟฟ้กระแสสลับที่เอาชนะระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงของเอดิสันในการต่อสู้อันน่าตื่นเต้นที่คนปัจจุบันรู้จักในชื่อ “สงครามคลื่น” (War of Currents แต่ตอนนี้ก็มีแนวโน้มว่าในอนาคตเอดิสันอาจหัวเราะทีหลังดังกว่า เพราะระบบจ่ายไฟกระแสตรงแบบกระจายศูนย์ที่ใช้พลังงานทดแทน เช่นพลังแสงอาทิตย์และพลังลม กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ)
ถึงแม้ว่ายุครุ่งอรุณแห่งเทคโนโลยีจะมีคนที่เรายกย่องเป็น “วีรบุรุษ” มากมาย ชื่อของ นิโคลา เทสลา นักประดิษฐ์และวิศวกรชาวยูโกสลาเวีย (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโครเอเชีย) กลับเลือนหายไปจากกระแสสำนึกของสังคม ทั้งที่เขาไม่เพียงเป็นอัจฉริยะเจ้าของสิทธิบัตรกว่า ๓๐๐ รายการ หากยังเป็นบิดาแห่งวงการวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า มีชื่อเสียงโด่งดังทัดเทียมเอดิสันในครึ่งแรกของชีวิต เป็นผู้ประดิษฐ์และค้นพบสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย อาทิ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวสติงเฮาส์เอาชนะเอดิสันในสงครามคลื่นได้) ขดลวดเทสลา (Tesla coil) เครื่องวัดความเร็วติดรถยนต์ การกระจายเสียงผ่านวิทยุ และวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า อันเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลาซึ่งวิศวกรรุ่นหลังตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
การค้นพบเหล่านี้ล้วนเป็น “ฟันเฟือง” สำคัญที่ทำให้สังคมได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืนจากงานของเอดิสัน มาร์โคนี เวสติงเฮาส์ และนักประดิษฐ์อีกจำนวนมาก จนกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่เราคุ้นเคยไม่อาจสัมฤทธิผลได้ถ้าปราศจากงานของเทสลา
นิโคลา เทสลา ในห้องทดลองของเขาี่ที่เมืองโคโลราโด สปริงส์ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๑๘๙๙ ถ่ายคู่กับเครื่องส่งกระแสไฟฟ้ายักษ์ ซึ่งมีความถี่สูงมากจนสามารถส่งกระแสไฟนับล้านวัตต์
มอเตอร์กระแสไฟฟ้าสลับของเทสลาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ ๑๐ ชิ้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
แต่แล้ว เทสลากลับกลายเป็นคน (ไม่) สำคัญที่โลกลืมก่อนตัวเขาจะล่วงลับนานนับสิบปี ถูกเย้ยหยันจากนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันและสังคมอย่างไม่ไยดี ตายอย่างยากไร้และเดียวดายในห้องน้ำของโรงแรมโกโรโกโสแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก ไม่มีใครรู้วันตายที่แน่นอน งานทั้งชีวิตของเขาถูกรัฐบาลอเมริกันตีตรา “ลับที่สุด” และห้ามใครพูดถึงในที่สาธารณะจวบจน ๑๐๐ ปีให้หลัง
สาเหตุที่ชีวิตของนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่พลิกผันชนิดหน้ามือเป็นหลังมืออาจเป็นส่วนผสมระหว่างอัจฉริยภาพ นิสัยส่วนตัวตั้งแต่เกิด กับความบังเอิญ (บางคนอาจเรียกมันว่า “โชคชะตา”) ที่เล่น “ตลกร้าย” กับเขาอย่างเหลือเชื่อ
ดร. โรเบิร์ต โลมัส (Robert Lomas) คลี่คลายปริศนาเกี่ยวกับบั้นปลายชีวิตของเทสลาไว้อย่างน่าประทับใจในบทความเรื่อง “Spark of Genius” ตีพิมพ์ในวารสาร The Independent วันที่ ๒๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๙ ผู้เขียนได้แปลและตัดต่อบางตอนมาพอสังเขป
………………………………………………………………
นิสัยของเทสลาเองเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของความไร้ชื่อเสียงของเขา เทสลาไม่เหมือนกับเอดิสัน เวสติงเฮาส์ มาร์โคนี หรือมอร์แกน ตรงที่เขาไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทที่ช่วยอนุรักษ์ชื่อเสียงและเชิดชูผลงานต่อสาธารณชนตลอดมา หากคนทั่วไปจะจำเทสลาได้ พวกเขาก็จำได้แต่ในฐานะคนประหลาดที่เขียนบทความส่งหนังสือพิมพ์ (ด้วยหัวข้ออย่าง “คลื่นยักษ์ของเทสลาในการทำสงคราม”, “การนอนหลับด้วยไฟฟ้า”, “วิธีส่งสัญญาณไปดาวอังคาร” ฯลฯ) …ในช่วงบั้นปลายชีวิต ๒๖ ปีสุดท้าย ภาพพจน์ของเขาในสายตาคนทั่วไปเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง คนเลิกมองเขาว่าเป็นวิศวกรผู้เก่งกาจ กลับมองว่าเขาเป็น “คนแก่สติเฟื่อง” ที่พยากรณ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงที่ว่าปาฏิหาริย์ส่วนใหญ่ที่เทสลาพยากรณ์และเกิดขึ้นจริงๆ นั้นดูเหมือนจะไม่ช่วยให้ชื่อเสียงของเขาดีขึ้นเลย
ในวันเกิดครบรอบ ๗๕ ปี เทสลาขึ้นปกนิตยสาร Time ในขณะที่เขาพำนักฟรีอยู่ในโรงแรม Grosvoner Clinton ด้วยความเอื้อเฟื้อของผู้จัดการ ก่อนหน้านี้เขาถูกเชิญออกจากโรงแรมหลายแห่งเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าห้อง หลังจากเหตุการณ์นี้เขาต้องอพยพออกจากโรงแรม Grosvoner Clinton และยอมทิ้งสัมภาระไว้เป็นค่าห้องแทน วิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในอเมริกาช่วงนั้นซ้ำเติมให้เทสลามีปัญหาการเงินมากกว่าเดิม เขาพบ “บ้าน” ที่จะอาศัยอยู่ไปชั่วชีวิตก็ต่อเมื่อรัฐบาลยูโกสลาเวียรู้สึกสงสารพลเมืองที่โด่งดังที่สุดของประเทศ เลยอนุมัติเงินบำนาญให้เทสลาจำนวน ๗,๒๐๐ เหรียญสหรัฐต่อปี แต่ถึงกระนั้นเทสลาก็ยังต้องย้ายโรงแรมบ่อยครั้ง เพราะเขาชอบให้อาหารนกบนโต๊ะ ทำให้มีนกพิราบบินเข้ามาในห้องอยู่เสมอ
เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เทสลาไม่เคยตีพิมพ์ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงที่มีพลวัตของเขา องค์ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงในปัจจุบันบอกว่า เมื่อวัตถุหนักเคลื่อนที่ มันจะแผ่คลื่นแรงโน้มถ่วง (gravity wave) ออกมา ซึ่งมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง คลื่นแรงโน้มถ่วงนี้มีคุณสมบัติคล้ายกันกับคลื่นชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด สิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเทสลาล้วนตั้งอยู่บนองค์ความรู้เกี่ยวกับคลื่น เขาเชื่อมั่นว่า เสียง แสง ความร้อน รังสีเอกซเรย์ และคลื่นวิทยุ ล้วนเป็นคลื่นที่เกี่ยวข้องกัน และเราสามารถค้นคว้าได้ด้วยสมการคณิตศาสตร์ประเภทเดียวกัน ความเห็นของเทสลาที่ไม่ตรงกันกับไอน์สไตน์สะท้อนให้เห็นว่าเขาได้ขยายแนวคิดนี้ไปสู่แรงโน้มถ่วงด้วย
ขึ้นปกนิตยสาร Time
ศูนย์ HAARP ในมลรัฐอะแลสกา
ในทศวรรษ ๑๙๘๐ ความคิดของเทสลาได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง ผลการวิจัยเรื่องการสูญเสียพลังงานในพัลซาร์ดาวคู่นิวตรอน (double neutron star pulsar) ชื่อ PSR 1913+16 พิสูจน์ว่าคลื่นแรงโน้มถ่วงมีอยู่จริง ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับความคิดของเทสลาที่ว่า แรงโน้มถ่วงเป็นสนามพลัง มากกว่าที่ไอน์สไตน์ให้ความสนใจ โชคร้ายที่เทสลาไม่เคยอธิบายว่าอะไรทำให้เขาสรุปแบบนี้ และไม่เคยอธิบายทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขาให้โลกรู้ การโจมตีงานของไอน์สไตน์ทำให้แวดวงวิทยาศาสตร์ตอนนั้นโจมตีเทสลาอย่างมหาศาล เราเพิ่งจะเข้าใจแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะระลึกได้ว่าความคิดของเทสลานั้นถูกต้องเมื่อไม่นานมานี้เอง
ในปี ๑๙๔๐ หลังวันเกิดครบรอบ ๘๔ ปีไม่กี่วัน เทสลาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับวันที่ ๒๒ กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๐ ว่า “…เขาพร้อมที่จะเปิดเผยความลับเกี่ยวกับพลัง ‘โทรกำลัง’ (teleforce) ต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกา พลังนี้มีอานุภาพหลอมละลายเครื่องยนต์ของเครื่องบินจากระยะไกลถึง ๒๕๐ ไมล์ ทำให้สามารถสร้างแนวกำแพงป้องกันรอบประเทศแบบกำแพงเมืองจีน แต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า”
ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยคนใดวิจารณ์บทความชิ้นนี้ กว่าจะถึงตอนนั้น ชื่อเสียงของเทสลาในฐานะคนอยากดังก็พุ่งสูงกว่าความสามารถของเขาที่จะทำให้คนเชื่อ และขณะที่ฮิตเลอร์กรีฑาทัพเข้ายุโรป ทุกคนก็มีเรื่องอื่นให้ปวดหัวมากกว่า
ในปีถัดมา สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๒ และเทสลาเองก็คงเป็นกังวลกับการที่ยูโกสลาเวีย ประเทศบ้านเกิดของเขา ได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพเยอรมัน เทสลาต้องการยก “รังสีหายนะ” (Death Ray ชื่อที่หนังสือพิมพ์ขนานนามขีปนาวุธ “โทรกำลัง” ของเขา) ให้แก่รัฐบาลอเมริกัน เพื่อช่วยทั้งประเทศบุญธรรมและประเทศบ้านเกิดเมืองนอน ดังนั้น อีก ๒ ปีต่อมาคือปี ๑๙๔๓ เทสลาจึงโทรศัพท์ไปที่แผนกการสงครามสหรัฐฯ ขอคุยกับพันเอกเออร์สไกน์ (Colonel Erskine) เสนอยกความลับของขีปนาวุธ “โทรกำลัง” ทั้งหมดให้แก่รัฐบาล เออร์สไกน์ไม่รู้ว่าเทสลาคือใคร คิดว่าเขาเป็นแค่คนบ้าคนหนึ่ง เออร์สไกน์ให้สัญญากับเทสลาว่าจะติดต่อกลับ แล้วหลังจากนั้นเขาก็ลืมสนิท นั่นคือครั้งสุดท้ายที่เทสลาติดต่อกับโลกภายนอก ถึงตอนนี้เขาล้มป่วยอย่างรุนแรง หัวใจที่อ่อนแอของเขาทำให้เกิดอาการเวียนหัวบ่อยครั้ง ตอนนั้นเทสลาพักอยู่ในโรงแรม New Yorker ในเย็นวันที่ ๕ มกราคม วันเดียวกัน เทสลาแจ้งทางโรงแรมว่าไม่ต้องการให้ใครรบกวน แล้วหลังจากนั้นก็เข้านอน เขามักแจ้งพนักงานโรงแรมว่าไม่ให้ใครรบกวนเป็นช่วงๆ ช่วงละ ๒-๓ วัน แต่นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่มีคนเห็นเขาขณะมีชีวิต
เหตุการณ์ต่อจากนั้นเกิดขึ้นเหมือนบทหนังเกรดบี เทสลาตายด้วยอาการหัวใจล้มเหลวระหว่างเย็นวันอังคารที่ ๕ มกราคม และเช้าวันศุกร์ที่ ๘ มกราคม พนักงานทำความสะอาดเป็นคนพบศพเขาในเช้าวันศุกร์ ญาติคนเดียวของเทสลาที่คนรู้จักคือหลานชายที่ชื่อ ซาวา โคซาโนวิช (Sava Kosanovich) นั้นเป็นผู้อพยพจากยูโกสลาเวียที่หลบหนีกองทัพเยอรมันมายังอเมริกา เขาก็เหมือนผู้อพยพอื่นๆ อีกหลายคน คืออยู่ภายใต้การสอดแนมของตำรวจเอฟบีไอในฐานะคนที่อาจเป็นสายลับของศัตรู
เย็นวันเดียวกัน พันเอกเออร์สไกน์แจ้งกับตำรวจเอฟบีไอว่าเทสลาตายแล้ว และบอกว่าหลานชายของเขาคือโคซาโนวิชยึดเอกสารต่างๆ ที่อาจใช้ในการทำสงครามกับรัฐบาลอเมริกันได้ เมื่อได้ยินดังนั้น เอฟบีไอจึงขอให้หน่วยพิทักษ์ทรัพย์สินคนต่างด้าว (Alien Property Custodian) รีบไปยึดทรัพย์สินต่างๆ ของเทสลา เนื่องจากเอฟบีไอกลัวว่าโคซาโนวิชจะนำความลับเกี่ยวกับอาวุธสงครามที่เทสลาออกแบบไปบอกศัตรู ผู้อำนวยการ FBI เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) ได้ส่งบันทึกไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า เรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ นิโคลา เทสลา ต้องถูกจัดการอย่างลับที่สุด และทุกฝ่ายต้องรักษาความลับของสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้เป็นความลับตลอดไป
ด้วยเหตุนี้ งานทั้งชีวิตของเทสลาจึงถูกตีตรา “ลับที่สุด” และห้ามไม่ให้ใครอภิปรายเรื่องนี้อีกเลย
คงเป็นตลกร้ายที่รังสีหายนะของเทสลากลับกลายเป็นเรื่องจริง วงการวิทยาศาสตร์เพิ่งตามเขาทันเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ในปี ๑๙๙๓ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างศูนย์วิจัยไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere คือชั้นบรรยากาศโลกที่ความสูงตั้งแต่ ๗๐-๕๐๐ กิโลเมตร) ในเมืองกาโคนา มลรัฐอะแลสกา ศูนย์นี้มีชื่อว่า HAARP (High Frequency Active Auroral Research Program) ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ อะแลสกา สแตนฟอร์ด คอร์แนลล์ ยูซีแอลเอ และเอ็มไอที ในการดำเนินโครงการเพื่อศึกษาคุณสมบัติการสะท้อน (resonant properties) ของโลกและชั้นบรรยากาศโลก โครงการนี้มีความเกี่ยวโยงกับงานของเทสลาอย่างชัดเจน กล่าวคือ HAARP กำลังศึกษาปรากฏการณ์เดียวกันกับที่เทสลาค้นคว้าที่โคโลราโดเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อน
ฉะนั้น เทสลาจึงมีเรื่องให้ “หัวเราะทีหลังดังกว่า” ถึง ๒ ข้อด้วยกัน ข้อแรกคือ รัฐบาลได้สร้าง “โทรกำลัง” ของเขาขึ้นมาจริงๆ และข้อสอง เขาเป็นผู้ชนะในสงครามสิทธิบัตรกับมาร์โคนี หลังจากเขาตายไปแล้ว ๖ เดือน เมื่อคำตัดสินของศาลสูงอเมริกายืนยันว่า นิโคลา เทสลา เป็นผู้ประดิษฐ์วิทยุเป็นคนแรกของโลก ไม่ใช่มาร์โคนี อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นชัยชนะที่ว่างเปล่า เพราะสิทธิบัตรทั้งสองได้หมดอายุไปแล้ว นักประดิษฐ์ทั้งคู่ก็ตายไปแล้ว และก็ไม่มีใครคุยกันเรื่องนี้ได้เพราะรัฐบาลมีคำสั่ง “ลับที่สุด” ห้ามทุกคนพูดถึงงานของเทสลา
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากห่วงโซ่เหตุการณ์ที่น่าเศร้าดังกล่าวคือ ผู้ทำประโยชน์มหาศาลให้แก่มนุษยชาติคนหนึ่งต้องกลายเป็นบุคคลที่โลกลืม เทสลาตายแบบเดียวกับที่เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างเดียวดาย ว้าเหว่ และลับที่สุด กลายเป็นคนลึกลับนานหลายปีเพียงเพราะยื่นข้อเสนอที่น่าตกใจต่อรัฐบาลอเมริกันในบั้นปลายชีวิต งานทั้งหมดของเขาถูกตีตรา “ลับที่สุด” จนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ ๑๐๐ ปี
เทสลาเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ชาญฉลาดอย่างน่าอัศจรรย์ใจ เป็นนักทำนายที่มองเห็นอนาคตได้จริง แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ เขาเป็นปัจเจกชนที่เอาแต่ใจตัวเสียจนไม่เคยมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับใคร เข้าสังคมไม่เป็น ปฏิเสธที่จะมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามและไม่ยอมแตะเนื้อต้องตัวใคร แม้กระทั่งจับมือทักทายคน (ด้วยการโกหกว่ามือของเขาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในห้องทดลอง) มีนิสัยเพี้ยนๆ มากมาย เช่น เชื่อว่าตัวเองมีพลังจิต ทำสิ่งต่างๆ ซ้ำซากในจำนวนครั้งที่หารด้วย ๓ ลงตัว (ตัวเลขที่เขาชอบเป็นพิเศษคือ ๒๗ เพราะเท่ากับ ๓๓) แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เป็นคนที่มีวัฒนธรรมสูงส่ง เทสลาพูดได้หลายภาษาและอ่านหนังสืออย่างกว้างขวาง
เมื่อไรก็ตามที่คุณเห็นเสาไฟฟ้าแรงสูงที่ส่งพลังงานมาบันดาลให้ชีวิตสมัยใหม่ของคุณเป็นจริง ลองซุกมือข้างหนึ่งไว้ในกระเป๋า ใช้เวลาอึดใจหนึ่งขอบคุณผู้มอบสิ่งนั้นให้แก่คุณ–นิโคลา เทสลา คน (ไม่) สำคัญผู้ว้าเหว่ พูดมาก หมกมุ่น และปราดเปรื่อง ผู้ใฝ่ฝันถึงการแปลงโลกทั้งใบให้เป็นสื่อนำไฟฟ้า ทุกคนจะได้ใช้ไฟฟ้าอย่างเสรี ผู้อุทิศชีวิตให้แก่การไล่ตามความฝันนี้อย่างไม่ใส่ใจว่าจะได้รับอะไรตอบแทนหรือไม่


เขาเป็น INTJ ยังไง?
-มี Ni โดดเด่น : Nikola Tesla ไม่ได้เป็นหนึ่ง ที่จะต้องพิจารณาไอเดียของความล้มเหลว แต่ เน้นในวิสัยทัศน์ ที่เขามี ในอนาคต ระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
– เสริมด้วย Te : Nikola Tesla เป็น นักวางแผน เขาต้องรู้เร็วที่สุดถึงสิ่งที่เขาต้องการ เขามีแผน ในการที่จะตอบสนองต่อสิ่งนั้น เขามักจะทำงานในโปรเจคที่คนอื่นเขาไม่สนใจกัน (พูดง่ายๆคือทุ่มเททำงานที่ตัวเองรัก แบบไม่ตามกระแสนั่นเอง)
-Fe: แม้จะมี ความจริงที่ว่า เทสลาเป็นคนที่มีตรรกะสูง เขาก็มีแรงบันดาลใจ อย่างล้ำลึกจากความรู้สึกของเขา ซึ่งแรงบันดาลใจ ของเขามาจากความรักที่มีต่อพี่ชายของเขาที่เสียชีวิตตอนเป็นเด็ก เทสลาเองต้องการให้สิ่งที่เขาประดิษฐ์ มีความหมาย และเป็นประโยชน์ กับคนอื่น ๆ จึง ต้องการที่จะให้พลังงานให้คนทั้งโลกได้ใช้ฟรี เขามีความรู้สึกที่แข็งแกร่ง ของความมีคุณธรรม และ ไม่เห็นด้วยกับความโลภของโลกธุรกิจ เขาให้ความสำคัญที่สุดในเรื่องของเวลา และการทำงาน ที่มีจะทำโลกดีขึ้น โดยไม่ ต้องการ ที่จะเปิดเผย ตัวเอง หรือ ชีวิตส่วนตัวของเขาในกระบวนการ.
-Se: เทสลา เป็นคนที่มองเห็นได้จากการเรียนรู้และการจดจำ เขาไม่เคยวาดหรือเขียนแผนสำหรับ สิ่งประดิษฐ์ ของเขาเพราะเขา ก็สามารถ เห็นภาพสิ่งเหล่าในใจ เขามักจะ พบว่าตัวเองมีการกระตุ้น ประสาทสัมผัสโดยการinput มากเกินไป และเก็บไว้กับตัวเขาเอง พูดง่ายๆคือใช้เซ้นต์ มากเกินไป
จบ ค่ะ
ขอบคุณที่อ่าน
กราบสวัสดี
CREDIT: https://visionconner.wordpress.com